วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

หน้าแรก

อาหารไทย

  เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด
   จากผลการสำรวจ 50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2554 โดย ซีเอ็นเอ็น (CNN) ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ส้มตำ อันดับที่ 46, นํ้าตกหมู อันดับที่ 19, ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 8 และ แกงมัสมั่น ติดอันดับที่ 1
เอกลักษณ์ของอาหารไทย
คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมกัน 2 ชนิดคือ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า คนไทยภาคอีสานและภาคเหนือนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคใต้นิยมกินข้าวเจ้าเป็นหลัก ประเทศไทยที่ผูกพันกับสายน้ำเป็นหลัก ทำให้อาหารประจำครัวไทยประกอบด้วยปลาเป็นหลัก ทั้ง ปลาย่าง ปลาปิ้ง จิ้มน้ำพริก กินกับผักสดที่หาได้ตามหนองน้ำ ชายป่า หากกินปลาไม่หมดก็สามารถนำมาแปรรูปให้เก็บไว้ได้นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า อาหารรสเผ็ดที่ได้จากพริกนั้น ไทยได้รับนำมาเป็นเครื่องปรุงมาจากบาทหลวงชาวโปรตุเกส ในสมัยพระนารายณ์ ส่วนอาหารประเภทผัดไฟแรง ได้รับมาจากชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อมีการเลี้ยงสัตว์ขายเป็นอาชีพและมีโรงฆ่าสัตว์ ทำให้มีการหาเนื้อสัตว์มารับประทานมากขึ้น มีการใช้เครื่องเทศหลากชนิดเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อที่นำมาปรุงเป็นอาหาร เครื่องเทศที่คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหารประเภทนี้เช่น ขิง กระชาย ที่ดับกลิ่นคาวปลามานาน ก็นำมาประยุกต์กับเนื้อสัตว์ประเภทวัว ควาย เป็นสูตรใหม่ของคนไทย
    และเป็นสิ่งที่ทั่วโลกต่างยอมรับความเป็นอาหารไทย คือ อาหารไทยมีเสนห์ ทั้ง รูป รส กลิ่น เสียง และประโยชน์ทางสุขภาพ อาหารไทยเป็นอาหารสุขภาพ ที่ใช้สมุนไพรต่างมาปรุงอาหาร มีเนื้อสัตว์ ผัก และการปรุงรสที่มีครบทุกรสชาติ ไม่ว่าจะเป็น เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม และเผ็ด
คุณค่าของอาหารไทย

คุณค่าของอาหารไทยสามารถจำแนกได้เป็น 3 ด้าน คือ คุณค่าด้านโภชนาการ คุณค่าทางยา และคุณค่าด้านภูมิปํญญาและวัฒนธรรม รายละเอียดของคุณค่าด้านต่างๆ มีดังนี้

1. คุณค่าทางโภชนาการ อาหารไทยเป็นอาหารที่ใช้พืชผัก ตามครัวเรือนซึ่งนำมาปรุงอาหารต่างๆ ให้สารอาหารต่างๆ ครบทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเรต ไขมัน วิตามินต่างๆ มีประโยชน์ต่อร่างกาย
 2. คุณค่ทางยา อาหารไทยจะมีส่วนผสมของสมุนไพรที่มีประโยชน์ เป็นยารักษาโรค ไม่ว่าจะเป็น หอมแดง กระเทยม ข่า ตะไคร้ มะกรูด เป็นอาหารที่ใช้รักษาโรคต่างๆได้ เป็นอาหารและยารักษาโรคในครั้งเดียวกัน
 3. คุณค่าทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม วัฒนธรรมด้านอาหารเป็นสิ่งบ่งบอกถึงความรู้ ภูมิปัญญาของคนชาติ อาหารสามารถบอกใช้ชาวโลกได้รู้ถึง การพัฒนา ไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อน ที่จะให้ใครมาดูถูกชาติของเราได้
                        


อาหารไทยภาคใต้

อาหารไทยภาคใต้
   มีลักษณะผสมผสานระหว่าง อาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดีย เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ อาหารปักษ์ใต้ เป็นอาหารที่อร่อย รสชาติจัด ไม่ว่าจะเป็น เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด นิยมใช้เครื่องเทศมาก อาหารพื้นบ้านภาคใต้ เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย


อาหารภาคใต้และวิธีทำ
1.แกงไตปลา
ส่วนผสม
·      ปลาย่างแกะเป็นชิ้น 1 ถ้วย
·      เครื่องแกงไตปลา 2 ช้อนโต๊ะ
·      ไตปลา 1 ถ้วย    
·      กะปิปลา 1 ถ้วย
·      มะเขือเปราะ 2-3 ลูก
·      ฟักทองหั่นเป็นชิ้น 3-4 ชิ้น
·      มันเทศหั่นเป็นชิ้น 3-4 ชิ้น
·      ใบมะกรูดฉีก 2-3 ใบ
·      เกลือเล็กน้อย
·      ผงชูรสเล็กน้อย
·      น้ำเปล่า 3 ถ้วย
วิธีทำ
1.ใส่น้ำเปล่าลงในหม้อตั้งไฟ รอจนน้ำเดือด ใส่กะปิปลาและไตปลาลงในกระชอนแล้วนำไปละลายกับน้ำเดือดในหม้อ เสร็จแล้วจึงใส่เครื่องแกงลงไปต้มสักครู่
2.ใส่ปลาย่าง มะเขือเปราะ ฟักทองและมันเทศลงไป ต้มจนผักสุก จึงชิมรสถ้าเค็มได้ที่แล้วก็ไม่ต้องเติมเกลือ ปรุงรสด้วยผงชูรสเล็กน้อย
3.เสร็จแล้วใส่ใบมะกรูดฉีก ปิดไฟ ยกลงพร้อมเสิร์ฟ

2.ต้มไก่ขมิ้น
ส่วนผสม
·      ไก่หั่นเป็นชิ้น 500 กรัม
·      ขมิ้นบุบ 1-2 หัว
·      กระเทียมบุบ 1-2 กลีบ
·      ตะไคร้บุบ 2 ต้น
·      เกลือ 1-2 ช้อนชา
·      ผงชูรสเล็กน้อย
·      น้ำเปล่า 2-3 ถ้วย

วิธีทำ
1.นำน้ำเปล่าใส่ในหม้อแล้วตั้งไฟ ใส่ขมิ้นบุบ, กระเทียมบุบและตะไคร้บุบลงไป
2.พอน้ำเดือดจัด จึงใส่ไก่ลงไปต้ม พอไก่สุกปรุงรส ด้วยเกลือและผงชูรส
3.ปิดไฟยกลง พร้อมเสิร์ฟ

เคล็ดลับ : ไก่ต้มขมิ้นสูตรนี้ต้องให้น้ำเดือดจัดๆ จึงจะใส่ไก่ลงต้ม เพราะถ้าหากน้ำไม่เดือดจัดจะทำให้น้ำต้มไม่ใสดูไม่น่ารับประทาน และตอนใส่ไก่ลงต้มห้ามคนจนกว่าน้ำจะเดือดอีกครั้ง เพราะจะทำให้ต้มไก่เหม็นคาวได้

อาหารไทยภาคกลาง

อาหารไทยภาคกลาง
     เป็นอาหารที่มีความหลากหลายทางด้านรสชาติ และมีการใช้กะทิและเครื่องแกงมากที่สุด อาหารไทยภาคกลาง. ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีภูเขาบ้าง ส่วนมากเป็นภูเขาเตี้ยๆ มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง ภาคกลางถือว่าเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด ทั้งการดำรงชีวิต และการทำมาหากิน ลักษณะเด่นของอาหารภาคกลาง จะมีรสชาติครบ เปรี้ยว หวาน มันเค็ม เผ็ด มีความประณีต ตกแต่งจานอาหารสวยงาม และอุดมไปด้วยเครื่องแกงต่างๆ

                                  
อาหารภาคอีสานและวิธีทำ
1.ผัดเปรี้ยวหวานหมู 

ส่วนผสม
· หมูหั่นชิ้น 1 ถ้วย
· แป้งข้าวโพด 1 ช้อนโต้ะ
· น้ำตาล 1 ช้อนโต้ะ
· ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนโต้ะ
· น้ำมันหอย 1 ช้อนโต้ะ
· น้ำสมสายชู 1 ช้อนโต้ะ
· น้ำมันพืช 1 ช้อนโต้ะ
· แตงกวา หั่นชิ้น 1 ถ้วย
· สับปรด หั่นชิ้น 1 ถ้วย
· มะเขือ 1 ถ้วย
· หอมใหญ่หั่นชิ้น 1 หัว

วิธีทำ
1. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมัน และนำเนื้อหมูลงไปผัดให้สุก
2. ใส่ น้ำตาล ซอสถั่วเหลือง น้ำมันหอย น้ำสมสายชู ลงไปผัดให้เข้ากัน
3. ใส่ผักลงไปผัด และใส่แป้งข้าวโพดให้น้ำซุปเหนียว
4. นำใส่จาน ทานกับข้าวสวย

2.ต้มข่าไก่

ส่วนผสม
·      กะทิ 1 ถ้วย
·      ซุปไก่ 1 ถ้วย
·      ข่า หั่น 3 ชิ้น
·      เนื้อไก่หั่น 1 ถ้วย
·      ตะไคร้ หั้น 3 ชิ้น
·      พริกหั่น 1 ช้อนโต้ะ
·      น้ำปลา 1 ช้อนโต้ะ
·      น้ำตาล 1 ช้อนโต้ะ
·      มะเขือหั่น 2 หัว
·      ผักชีหั่น 1 ช้อนโต้ะ
วิธีทำ
1.ตั้งกะทะต้มกะทิ พร้อมกับข่าและตะไคร้ ต้มให้หอมประมาณ 10 นาที
2.เติมน้ำซุปและไก่ลงไปต้ม
3.ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาล ใส่มะเขือและพริกลงไป
4.เสริฟใส่ชามโรยหน้าด้วยผักชี

อาหารไทยภาคอีสาน

อาหารไทยภาคอีสาน
    มีรสชาติเด่น คือ รสเค็มจากน้ำปลาร้า รสเผ็ดจากพริกสดและแห้ง อาหารอีสานส่วนใหญ่จะมีลักษณะแห้ง ข้น และมีปลาร้าเป็นส่วนผสมของอาหารแทบจะทุกเมนู อาหารพื้นบ้านอีสาน ส่วนมากจะเผ็ด เค็มและเปรี้ยว คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก ข้าวเหนียวจึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของอาหารอีสาน


อาหารภาคอีสานและวิธีทำ
1.ลาบหมู

ส่วนผสม 
·   เนื้อหมูสับ 200 กรัม
·   หอมแดงซอย 1 หัว 
·   ต้นหอมซอย 2 ช้อนโต๊ะ 
·   ใบสะระแหน่ สำหรับโรยหน้า
·   น้ำปลา น้ำตาลทราย และน้ำมะนาว สำหรับปรุงรส
·   พริกป่น ปริมาณตามชอบ
·   ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1.ใส่น้ำลงในหม้อเล็กน้อย นำขึ้นตั้งไฟแรงจนเดือด ใส่เนื้อหมูสับลงไปรวนจนสุก ยกลงจากเตา
2.ใส่หอมแดง ต้นหอมซอย และใบสะระแหน่ลงในหม้อ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาลทราย และพริกป่น คนผสมให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ เติมข้าวคั่ว
3.จากนั้นเคล้าผสมให้เข้ากันอีกครั้ง ตักใส่จาน โรยใบสะระแหน่ พร้อมเสิร์ฟ

2.ซุปหน่อไม้   

ส่วนผสม
·      ใบย่านาง 5-10 ใบ
·      หน่อไม้รวก ขูดเป็นเส้นยาว 
·      น้ำปลาร้า 3 ช้อนโต๊ะ (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้) 
·      เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
·      หอมแดงซอย 3 หัว
·      น้ำมะนาว นํ้าปลา พริกป่น สำหรับปรุงรส
·      ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
·      ผักชีฝรั่ง ต้นหอม ซอย                                                         
วิธีทำ
1.ขยี้ใบย่านางกับน้ำจนน้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม กรองเอาเฉพาะน้ำเทใส่หม้อเตรียมไว้
2.ต้มน้ำจนเดือด ใส่หน่อไม้รวกลงต้มจนน้ำเดือดอีกครั้ง ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็น จากนั้นบีบน้ำออกจากหน่อไม้ให้หมด แล้วใส่ลงในน้ำใบย่านางที่เตรียมไว้ ยกขึ้นตั้งไฟจนเดือด ใส่เกลือป่น และน้ำปลาร้าลงไป ต้มจนเดือด ยกลงจาเตา เตรียมไว้
3.ตักหน่อไม้ใส่อ่างผสม ใส่หอมแดงซอย ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา พริกป่น และข้าวคั่ว เคล้าผสมให้เข้ากน ชิมรสตามชอบ ใส่ผักชีฝรั่งซอย และต้นหอมซอย เคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง ตักใส่จาน โรยใบสะระแหน่ พร้อมเสิร์ฟ



อาหารไทยภาคเหนือ

อาหารไทยภาคเหนือ
     เป็นอาหารที่มีรสชาติแบบกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมากหรือแทบจะไม่นิยมเลย ลักษณะเด่นของอาหารภาคเหนือ อาหารพื้นบ้านล้านนาไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก จากปลา ไขมันจะได้จากน้ำมันของสัตว์

อาหารภาคเหนือและวิธีทำ
1.น้ำพริกหนุ่ม

ส่วนผสม
·                  พริกหนุ่ม
·                  หอมแดง 
·                  กระเทียม 
·                  เกลือป่นเล็กน้อย 
·                  ผักชีซอย 
·                  ต้นหอมซอย
·                  ผักสดตามชอบ
·                  แคบหมู
วิธีทำ
  1. ย่างพริกหนุ่ม กระเทียม และหอมแดง จากนั้นแกะเปลือกออก 
  2. โขลกพริกหนุ่ม กระเทียม และหอมแดงที่ย่างแล้วกับเกลือเข้าด้วยกันให้ละเอียด ชิมรส ตามชอบ (ให้ออกเผ็ด-เค็ม แต่ไม่ต้องเค็มมาก) 
   3. ตักน้ำพริกหนุ่มใส่ถ้วย โรยด้วยผักชีและต้นหอม เสิร์ฟคู่กับผักสดและแคบหมู
  
2.ไส้อั่ว

ส่วนผสม
·                  ชุดทำไส้อั่วแบบสำเร็จ
·                  น้ำอุ่น
·                  หมูสับติดมัน
 วิธีทำ
1. ผสมเครื่องปรุงไส้อั่วกับน้ำอุ่นให้เข้ากัน 
2. ใส่เนื้อหมูสับลงไปนวดให้เข้ากัน 
3. ยัดส่วนผสมไส้ใส่ลงในไส้หมู ระหว่างนั้นก็ใช้ไม้จิ้มฟันเจาะไส้เพื่อไล่อากาศออก 
4. นำไส้อั่วไปย่าง ในระหว่างย่างให้ใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มไปด้วยเพื่อระบายอากาศไม่ให้ไส้แตก และให้น้ำมันหยดออกมา ยกลงจากเตา หั่นเป็นชิ้น จัดใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ

                        


วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัติส่วนตัว


ดิฉัน นางสาวนิศากร แก้วอินทร์ ชื่อเล่น หวาย อายุ ๑๗ ปี 
เกิดเมื่อ วันพุธ ที่ ๔  เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ 
ปัจจุบันดิฉันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๗/๑ หมู่ ๖ ต.ดอนทราย อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนควนเนียงวิทยา  
ประวัติครอบครัว
บิดา นายวินัย แก้วอินทร์
มารดา นางพุม แก้วอินทร์
มีพี่น้องรวม ๔ คน 
พี่คนที่ ๑ นางสาวยุวดี แก้วอินทร์
พี่คนที่ ๒ นางสาววิยะดา แก้วอินทร์
พี่คนที่ ๓ นางสาวศุทธนุช แก้วอินทร์

และดิฉันบุตรคนที่ ๔ นางสาวนิศากร แก้วอินทร์